หน้าที่5


1.6 สภาพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านพลังงาน


สภาพการใช้พลังงานส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 95 ได้ถูกนำมาใช้ในภาคเศรษฐกิจ 3 ประเภท ได้แก่

การขนส่ง อุตสาหกรรม อาคารพาณิชย์ และที่อยู่อาศัย ภาคการขนส่งมีสัดส่วนในการใช้พลังงาน

สูงสุดตลอดมาและสูงถึงประมาณร้อยละ 40 ใน พ.ศ. 2543 (ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ และคณะ 2543:87)

และคาดว่าเศรษฐกิจของประเทศจะมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อไปในอนาคต ความต้องการพลังงาน

ของประเทศควรจะเพิ่มขึ้นตาม แต่อยู่ที่ในอัตราที่ต่ำกว่าความเติบโตทางเศรษฐกิจ ถ้าการประหยัด

พลังงานมีประสิทธิภาพมากกว่าในปัจจุบัน ถ้ามีระบบขนส่งที่ดีขึ้นการใช้พลังงานในภาคเศรษฐกิจนี้

น่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำลง ในด้านพลังงานจะกล่าวในประเด็นต่างๆ ดังนี้

1.6.1 แหล่งพลังงานฟอสซิล
        

       1. ก๊าซธรรมชาติ
   
       2. ลิกไนต์และถ่านหิน
   
       3. น้ำมันปิโตเลียม
   

1.6.2 แหล่งพลังน้ำ
        

         โรงไฟฟ้าพลังน้ำได้รับการติดตั้งแล้วประมาณ 2,800 เมกะวัตต์ หรือ ร้อยละ 25 ของศักยภาพ

ของแหล่งพลังน้ำในประเทศ ผลกระทบที่สำคัญของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ ต่อสิ่ง

แวดล้อม ได้แก่ การเสียป่าไม้และการโยกย้ายประชากร

1.6.3 แหล่งพลังงานชีวมวล


         การกระบวนการผลิต ได้แก่ ชานอ้อย แกลบ และกากผลปาล์มน้ำมัน ได้นำมาผลิตพลังงานเพื่อ

ใช้ในอุตสาหกรรมเกษตร แล้วประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ ชีวมวลเหล่านี้ยังมีศักยภาพที่จะผลิตไฟฟ้า

ออกจำหน่วยได้อีกประมาณ 1,000 เมกะวัตต์

1.6.4 แหล่งพลังงานทดแทน


      พลังงานแสงอาทิตย์และลม ประเทศไทยมีความเข้มของพลังงานแสงอาทิตย์ระดับปานกลาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น