หน้าที่2

1.2 ระดับความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยในการแข่งขันกับนานาชาติ

       จากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ ใน The World Competitiveness Yearbook ซึ่งเป็นรายงานประจำปี พ.ศ. 2542 ที่จัดทำโดยสถาบัน IMD (International Institute for Managent Development) ได้จัดให้ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 47 จาก 47 ประเทศ และใน พ.ศ. 2544 ได้จัดประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 49 จาก 49 ประเทศ  เมื่อพิจารณาดัชนีที่เป็นปัจจัยหลักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นปัจจัยหลักด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (scientific infrastructure) ประเทศไทยก็อยู่ในอันดับที่ 49 เช่นกัน สิ่งนี้แสดงถึงความตกต่ำทางด้านวิทยาศาสจร์และเทคโนโลยีของไทย เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่ IMD ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อจัดอันดับมี 5 ปัจจัยคือ

1. ค่าใช้จ่ายของประเทศด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งภาครัฐและเอกชน

2. บุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศโดยรวม และในภาคเอกชน

3. การจัดการด้านเทคโนโลยีในด้านความร่วมมือและการพัฒนาเทคโนโลยี

4. สิ่งแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ในประเทศ เช่น รางวัลโนเบล การวิจัยพื้นฐานการศึกษา

5. สิทธิบัตรและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งด้านจำนวนและการให้ความคุ้มครอง

สาเหตูสำคัญที่สภาพด้านการแข่งขันของไทยตกอยู่ในตำแหน่งสุดท้ายเพราะปัจจัยที่ IMD ใช้วัดเพื่อจัดอันดับของประเทศต่างๆ ปัจจัยเหล่านี้ของไทยมีค่าน้อยมากทุกข้อ ไม่วาจะเป็นงบประมาณค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา มีเพียงร้อยละ 0.10 ของ GDP ใน พ.ศ. 2540 โดยเฉพาะสัดส่วนของภาคเอกชนยิ่งมีน้อยมากเพียง 0.10 ของ GDP บุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาที่ทำงานเต็มเวลามีเพียง 2.13 คนต่อประชากร 10,000 คน แสดงถึงการขาดบุคลากรด้านนี้ นอกจากนี้ประเทศไทยยังขาดโครงสร้างการผลิตและการจ้างนักวิจัย การจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ความร่วมมือด้านเทคโนโลยี ความร่วมมือในการทำวิจัย และการจัดสาธารณูปโภคทางด้านนี้ยังไม่ดีพอ สิ่งแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์





























































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น