หน้าที่3


1.3 การพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

         กำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากที่มีผลต่อการพัฒนาทางด้าน

นี้ของประเทศโดยตรง สภาพของการพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากแนวคิด

ของ ยงยุทธ์ ยุทธวงศ์ และคณะ (2543 : 75-141) เห็นว่ากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่

เป็นนักวิทยาสาสตร์ วิศวกร และช่างเทคนิคของไทย มีเพียง 24 คน ต่อจำนวนประชากร 10,000 คน 

(ชินภัทร ภูมิรัตน 2544 : 11) น้อยกว่าประเทศเกาหลีซึ่งมี 90 คน ต่อประชากร 10,000 คน ถ้าพิจารณา

กำลังคนด้านวิจัยและพัฒนาเมื่อเปรียบกับประเทศอื่นๆ ประเทศพัฒนาแร้วมีกำลังคนด้านนี้จำนวน

ประมาณ 20-80 คน ประเทสกำลังพัฒนามีประมาณ 5-20 คน และด้อยพัฒนามีประมาณน้อยกว่า 5 คน 

สำหรับประเทศไทยมีนักวิจัยและพัฒนาเพียง 2 คน ต่อประชากร 10,000 คน (ชินภัทร ภูมิรัตน 

2544:11) ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่าวิตกเพราะจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ล้านหลังที่สุด

1.4 สภาพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการวิจัยและพัฒนา

            เมื่อพิจารณาสภาพวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีด้านการวิจัยและพัฒนา สภาพที่เกี่ยวข้อง

โดยตรง ได้แก่ จำนวนเงินลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนายังมีอยู่น้อยมา โดยมีค่าใช้จ่ายในการลงทุน

เพื่อการวิจัยแระพัฒนามีสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.18 ของ GDP การลงทุนวิจัยและพัฒนาของภาค

เอกชนมีสัดส่วนร้อยละ 10 ของการลงทุนวิจัยและพัฒนาโดยรวมของประเทศ (กอปร กฤตยากีรณ 

และคณะ 2543:59) อาจกล่าวได้ว่าประเทสไทยให้ความสำคัญแก่การลงทุนเพื่อนแสวงหา เรียนรู้ 

วิจัย พัฒนา และสร้างเทคโนโลยีในรูปความรู้ ค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอุตสาหกรรม

ใหม่และประเทศที่พัฒนาแร้ว จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนายังขาดอยู่ มีเพียง 2 คน ต่อ

ประชากร 10,000 คน ระบบการจัดการเทคดนโลยียังไม่เช็มแข็ง บรรยากาศด้านวิทยาศาสตร์ยังไม่ดี 

และยังมีการจดทรัพย์สินทางปัญญาอยู่น้อยมาก สภาพต่างๆ เหล่านี้มีผลให้ผลงานวิจัยและพัฒนาที่

ออกมาช่วยในการพัฒนาประเทศมีน้อยด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น