หน้าที่4


1.5 สภาพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี


       สถานภาพของการถ่ายทอดเทคโนโลยีของไทย นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยยังคง

ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีที่นำเข้าจากต่างประเทศในอัตราที่สูงขึ้งอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด มูลค่า

การนำเข้าเครื่องจักร คอวพิวเตอร์ และอุปกรณ์ได้เพิ่มมากขึ้นจาก 312,948 ล้านบาทใน พ.ศ. 2535

เป็น 655,618 ล้านบาทใน พ.ศ. 2541 และค่าธรรมเนียมนำเข้าเทคโนโลยีในรูป ค่าธรรมเนียมใบอณุ

ญาติ และค่าธรรมเนียมความรู้ทางเทคนิค ได้เพิ่มขึ้นจาก 30,181 ล้านบาทใน พ.ศ. 2535 เป็น 95,924

ล้านบาทใน พ.ศ. 2541 (กอปร กฤตยากีรณ และคณะ 2543:33)

        จำนวนสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่เผยแพร่ในระดับนานาชาติ ผลงานการประดิษฐ์ ผลงานการวิจัย

และสิทธิบัตร ของนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยที่มีอยู่อย่างจำกัดในแต่ละปี สัดส่วนผลผลิต

อุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ของไทยยังคงเน้นการใช้ทรัพยากรและแรงงาน มากกว่าใช้วิทยาศาสตร์

เป็นฐาน รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในด้าน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสถาบัน MID ใน พ.ศ. 2543 ที่จัดให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 47 ชี้

ให้เห็นว่าแม้ประเทศไทยจะได้มีการนำเข้าเทคโนโลยีมาจากต่างประเทศ และมีการส่งเสริมการ

ลงทุนจากต่างประเทศจำนวนมากในแต่ละปี แต่ประเทสไทยยังมิได้เรียนรู้ และใช้ประโยนช์จาก

เทคโนโลยีที่นำเข้ามาเพิ่มพูนขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคนไทยเท่าที่

ควร รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายแก่ภาคเอกชน

โดยผ่านกลไกลต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต โดยใช้มาตรการด้าน

การเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนได้จัดหา วิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีในวง

กว้างนอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่

ประชาชนและภาคเอกชนในรูปแบบต่างๆ มากมาย หน่วยงานที่สำคัญมีหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวง

วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม ทบวง

มหาลัย สำนันายกรัฐมนตรี เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น